เรื่อง :: มหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 ประจำปี 2565: “สร้างสรรค์งานประจำสู่นวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร”

       มหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 ประจำปี 2565: “สร้างสรรค์งานประจำสู่นวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร”
หัวข้อ: “สร้างสรรค์งานประจำสู่นวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร” (“Reinventing Routines with Innovations for Organization Development”)
ปาฐกถา: “บุคลากรสายสนับสนุนกับมิติของการเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาไทย” โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
บรรยายพิเศษ: “รู้จักคุณค่าและให้กำลังใจตัวเอง” โดย คุณนภาพร ไตรวิทย์วารีกุล, ดีเจพี่อ้อย Club Friday
บรรยายพิเศษ: “การพัฒนางานที่เป็นเลิศและก้าวสู่สากลในยุคดิจิทัล” โดย ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์, CEO of The S Curve Company Limited
วันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2565
ณ ภูเก็ตเกรซแลนด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา, จังหวัดภูเก็ต
Deadline submission: 1 ตุลาคม 2565
Website: http://www.council-uast.com/news-detail.php?id=290#.YwL_wHbP2Uk
หรือ https://bit.ly/3Pgp5Dj
การประกวดผลงาน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ:

กลุ่มที่ 1 นวัตกรรม;
ผลงานนวัตกรรมต้องเป็นสิ่งใหม่ หรือสิ่งที่พัฒนาให้ดีกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนามาตรฐาน ประสิทธิภาพ มูลค่าคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์สร้างผลกระทบได้ในวงกว้างในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสาธารณะ โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) ผลงานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเช่น ผลิตภัณฑ์ (Product) การบริการ (Service) กรรมวิธีที่เกี่ยวกับการผลิต (Process)
2) ผลงานนวัตกรรมด้านสังคม เช่น การจัดโครงสร้างองค์กรระบบบริหารจัดการ การบริหาร การเงิน ธุรกิจ การตลาด หรือในการอื่นใด

กลุ่มที่ 2 สิ่งประดิษฐ์;
ผลงานที่เป็นการประดิษฐ์หรือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นใหม่หรือสิ่งที่พัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

กลุ่มที่ 3 การพัฒนางานประจำ;
การพัฒนา / ปรับปรุง งานประจำ ให้มีคุณภาพดีขึ้น เช่น พัฒนางานแล้วทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน ลดเวลา คุ้มค่าคุมทุน หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงาน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการพัฒนาคุณภาพงานประจำด้วยเครื่องมือคุณภาพต่างๆ เช่น Lean , Kaizen, KM เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 คู่มือปฏิบัติงาน;
คู่มือปฏิบัติงานที่เป็นเอกสารแสดงเส้นทางการทำงานในงานหลักของตำแหน่ง โดยระบุขั้นตอน (Work Flow Chart) รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการปฏิบัติงานตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ กฎหมาย กฎ ระเบียบภายใน มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน แนวคิด ทฤษฎีหรือองค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน ความรู้จากประสบการณ์ (tacit knowledge) และแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) ตลอดจนมีการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน แนวทางแก้ไขปัญหา แนวทางการพัฒนางาน และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานดังกล่าว หรือเอกสารที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะเข้าข่ายคู่มือปฏิบัติงาน หรือมีลักษณะใกล้เคียงกับลักษณะของคู่มือปฏิบัติงาน

ติดต่อสอบถาม:
คุณดนยา วราสิทธิชัย หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่: 083-191-3106
คุณสันติ เส็นหมาน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่: 081-353-7639
หรือ E-mail: innocuast5@gmail.com


: 22 ส.ค. 2565